Followers

Powered By Blogger

19.5.10

ไวรัสตับอักเสบ บี เส้นทางสู่ โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดบี เป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย แต่คนไทยจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ หรือเป็นพาหะ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์จะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีการอาการของโรคใน ระยะเฉียบพลันแล้ว มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง หรือในบางรายตรวจพบได้จากการตรวจสุขภาพ โดยการเจาะเลือดจึงรู้ว่าตนเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด

สาเหตุของไวรัสตับอักเสบชนิดบี

เชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1965 โดยแพทย์ชาวออสเตรเลียซึ่งต่อมาก็ทราบว่าไวรัสตัวนี้ เป็นสาเหตุของไวรัสตับอักเสบที่พบบ่อย และสามารถก่อให้เกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง และเป็นสาเหตุของมะเร็งตับและตับแข็งได้บ่อยในคนไทย

โรคตับอักเสบจาก ไวรัสชนิดบี จะมีความรุนแรงมากกว่าโรคตับอักเสบจากไวรัสชนิดเอ และมีโอกาสที่จะเป็นโรคเรื้อรัง อีกทั้งเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีจะนำไปสู่มะเร็งตับได้ด้วย

อาการแสดง

ผู้ป่วยที่เป็นโรค ตับอักเสบจากไวรัสบี จะแบ่งลักษณะอาการได้เป็น 2 แบบ ที่สำคัญได้แก่

1. ผู้ป่วยมีอาการแสดงเฉียบพลัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ต่อมาจะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อาการจะเป็นอยู่ประมาณ 4 สัปดาห์ ต่อไปผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะหายจากโรค และมีภูมิต้านทานเกิดขึ้น มีเพียงส่วนน้อยที่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นพาหะของโรคต่อไป ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อครั้งแรกในบางราย อาจมีอาการแสดงน้อยจนผู้ป่วยอาจไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ

2 ผู้ป่วยบางรายจะมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรัง โดยไม่มีอาการแสดงใด ๆ นำมาก่อน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะตรวจพบได้จากการตรวจเลือด

การติดต่อ

โรคนี้สามารถ ติดต่อได้ 2 ทาง คือ

ทางเลือด ปัจจุบันพบน้อยมาก เพราะมีการตรวจหาเชื้อในเลือดก่อนนำมารักษาผู้ป่วย แต่การติดต่อทางเลือด อาจพบได้จากการสัก การเจาะหู หรือการเจาะเพื่อใส่เครื่องประดับในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย หรือจากในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด โดยใช้เข็มฉีดยาที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อ

ทางการร่วมเพศ กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี มารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีสามารถติดต่อไปสู่ลูกได้ แต่ในปัจจุบันแพทย์จะให้วัคซีนป้องกันตับอักเสบชนิดบีแก่ทารกตั้งแต่แรกเกิด ทุกรายอยู่แล้ว


การรักษา



ใน ผู้ป่วยที่เป็นระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียมาก อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล แต่ในรายที่เป็นตับอักเสบเรื้อรังหรือเป็นพาหะของโรค แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรักษา ปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับ อักเสบชนิดบี แต่ยาที่ใช้รักษาก็ยังไม่สามารถรักษาผู้ป่วยโรคนี้ให้หายขาดได้ทุกราย ยาที่ใช้รักษาจะช่วยลดจำนวนไวรัสในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ทำให้การอักเสบของตับลดลง ทำให้โอกาสในการที่ผู้ป่วยจะกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับลดลง

ยาที่ ใช้ในการรักษามีทั้งยาฉีดและยากินหลายชนิด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาในการให้ยาแก่ผู้ป่วย

การดำเนินโรค

เนื่อง จากผู้ป่วยที่เป็นพาหะและตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี มีโอกาสที่จะเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับต่อไปในอนาคต ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำในการ รักษาโรคนี้ต่อไป
การป้องกัน

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ฉีดป้องกันโรคตับ อักเสบชนิดบีแล้ว ดังนั้น ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับเชื้อนี้มาก่อน หรือไม่มีภูมิต้านทานตัวโรคนี้ ควรไปขอคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันต่อไป

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

ผู้ ป่วยควรงดดื่มสุรา งดสูบบุหรี่ ไม่ซื้อยารับประทานเอง

ผู้ป่วยที่ต้อง รับประทานยาชนิดใดเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ว่ายาชนิดนั้นมีผลต่อตับหรือไม่

ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้ เพียงพอ ไม่ทำงานหักโหม ไม่อดนอน

ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่อย่าออกแรงหนักเกินไป

รับประทานอาหารตามปกติ

ปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติ

ตั้งครรภ์ และมีบุตรได้ แต่ต้องแจ้งแพทย์ตอนฝากครรภ์

ศูนย์ โรคระบบทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลเวชธานี
www.vejthani.com

No comments: